เมนู

ขยำแล้วตั้งไว้. อาโปธาตุ 12 อย่าง ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าน้ำเต็มถ้วย
น้ำ 12 ถ้วย ที่เขาตั้งเรียงกันไว้. ทีนั้น ภิกษุนั้น พึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้
โอวาท อาจารย์ก็ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน)
มิใช่กรรมฐาน เป็นราวกะว่ากรรมฐาน ดังนี้ แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดีแล้ว
ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำความเพียรในธาตุมนสิการมา กรรมฐานนั้นนั่น
แหละ เป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุเถิด.
แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุ แล.

ในข้อนั้นพึงทราบวิธีการสาธยายโดยหัวข้อมนสิการ ดังนี้


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการ (คือกระทำไว้ในใจ) ว่า ผม
ทั้งหลายเกิดที่หนังหุ้มศีรษะ ผมเหล่านั้นย่อมไม่รู้ตัวเองว่า เราเกิดที่หนัง
หุ้มศีรษะ
แม้หนังหุ้มศีรษะเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า ผมทั้งหลายเกิดในเรา
สิ่งเหล่านั้น ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็นสภาพ
แข็ง กระด้าง นี้เป็นปฐวีธาตุ.
ย่อมมนสิการว่า ขนทั้งหลายเกิดที่หนัง
หุ้มสรีระ ขนเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่หนังหุ้มสรีระ แม้หนังหุ้ม
สรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า ขนทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด.
เล็บทั้งหลายเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย เล็บเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่ปลาย
นิ้วทั้งหลาย
แม้ปลายนิ้วทั้งหลายเล่า ก็ไม่รู้ว่า เล็บทั้งหลายเกิดในเรา
แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด. ฟันทั้งหลายเกิดที่กระดูกคาง ฟันเหล่านี้ย่อมไม่
รู้ว่า เราเกิดที่กระดูกคาง แม้กระดูกคางเล่า ก็ไม่รู้ว่า ฟันทั้งหลาย
เกิดในเรา
แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด. หนังย่อมไม่รู้ว่า เราหุ้มสรีระ
แม้สรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังหุ้มไว้ แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด. เนื้อ

ย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบทาสรีระ แม้สรีระเล่าก็ไม่รู้ว่า เราถูกเนื้อฉาบทาไว้
แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด. เอ็นย่อมไม่รู้ว่า เราผูกกองกระดูกไว้ แม้กอง
กระดูกเล่า ก็ไม่รู้ว่า เราถูกตาข่ายแห่งเอ็นผูกไว้ แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการ
คิด. กระดูกศีรษะ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกคอ แม้กระดูกคอเล่า
ก็ไม่รู้ว่า กระดูกศีรษะตั้งอยู่ในเรา กระดูกคอ ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่
กระดูกสันหลัง แม้กระดูกสันหลัง กระดูกสะเอว กระดูกขาอ่อน กระดูก
แข้ง กระดูกข้อเท้า ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกส้นเท้า แม้กระดูก
ส้นเท้าเล่า ก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกข้อเท้าตั้งไว้ ฯลฯ กระดูกคอ ย่อม
ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกศีรษะตั้งไว้ กระดูกทั้งหลายตั้งอยู่โดยที่สุดกันตาม
ลำดับ. จากนี้ไปในที่ต่อมิใช่น้อย เอ็นอะไร ๆ มิได้ผูกไว้. กองกระดูกนี้
ก็ไม่มีการคิดเป็นดังท่อนไม้ เป็นสภาวะอันชราเตือนแล้ว. เยื่อในกระดูก แม้นี้
ก็ไม่มีการคิด. ไต ฯลฯ มันสมอง ก็ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของ
ว่างเปล่า แข็งกระด้าง เป็นปฐวีธาตุ ดังนี้. ย่อมกระทำไว้ในใจว่า น้ำดี
เสลด ฯ ลฯ น้ำมูตร ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็น
เครื่องเกาะกุม เป็นอาโปธาตุเอิบอาบซึมซาบไป. เมื่อพระโยคาวจรกำหนด
มหาภูตรูป 2 เหล่านี้อยู่ เตโชธาตุอันมาก ย่อมปรากฏที่อุทร. วาโยธาตุ
อันมาก ย่อมปรากฏที่จมูก. เมื้อกำหนดมหาภูตรูป 4 เหล่านั้นอยู่ อุปาทารูป
ย่อมปรากฏ. ชื่อว่ามหาภูตรูปย่อมกำหนดได้ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนด
ได้ด้วยมหาภูตรูป. เปรียบเหมือน ชื่อว่า แสงแดดกำหนดได้ด้วยเงา เงาก็
กำหนดได้ด้วยเเสงแดด ฉันใด มหาภูตรูป ก็ฉันนั้นนั่นแหละ กำหนดได้
ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนดได้ด้วยมหาภูตรูป. ครั้นเมื่อความเป็นอย่าง
นั้น เมื่อภิกษุนั้นกำหนดรูปขันธ์ว่า มหาภูตรูป 4 อุปาทารูป 23 เป็น

รูปขันธ์ อย่างนี้ อยู่ อรูปขันธ์ก็ย่อมปรากฏตัวด้วยอำนาจแห่งอายตนะและ
ทวาร. การกำหนดรูปและอรูปขันธ์ คือขันธ์ 5 ย่อมปรากฏด้วยประการ
ฉะนี้. ขันธ์ 5 คือ อายตนะ 12 และอายตนะ 12 ก็คือ ธาตุ 18 เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุพึงกำหนด นาม และ รูป กระทำให้เป็น 2 ส่วน ด้วยสามารถ
แห่งขันธ์ อายตนะและธาตุ ให้เป็นราวกะว่าผ่าอยู่ซึ่งเง่าตาลคู่ ฉะนั้น.
ภิกษุนั้น ใคร่ครวญอยู่ว่า นามรูปนี้ เกิดขึ้นเพราะไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัยหามิได้ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ มีปัจจัย ก็อะไรเล่า เป็น
เหตุ เป็นปัจจัยของนามรูปนั้น
จึงกำหนดปัจจัยแห่งนามรูปนั้นว่า นาม
รูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เพราะ
กรรมเป็นปัจจัย เพราะอาหารเป็นปัจจัย
ดังนี้แล้ว ย่อมก้าวล่วงความ
สงสัยในกาลทั้ง 3 ว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ในกาลบัดนี้
(คือปัจจุบัน) ก็ดี ปัจจัยทั้งหลาย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นอกจากนี้แล้ว หามีสัตว์หรือบุคคลไม่ มี
แต่กองสังขารล้วน ๆ เท่านั้น
ดังนี้. ก็วิปัสสนานี้ มีสังขารเป็นเครื่อง
กำหนด จึงชื่อว่า ญาตปริญญา. เมื่อภิกษุกำหนดสังขารแล้วดำรงอยู่อย่างนี้
รากฐานในศาสนาแห่งพระทศพลของเธอ ชื่อว่าหยั่งลงแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่งแล้ว
ภิกษุนั้น เป็นผู้ชื่อว่า พระจุลโสดาบันผู้มีคติแน่นอน.
ก็ภิกษุนั้นได้อุตุสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ และธัมม-
สัปปายะเช่นนั้นแล้ว อาศัยอยู่ด้วยเอกบัลลังก์อันประเสริฐในอาสนะเดียว
พิจารณาสังขารทั้งหลายยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยลำดับแห่งวิปัสสนา ย่อมถือ
เอาพระอรหัตได้ ฉะนี้แล. ข้อนี้ เป็นการออกไปของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นด้วย
สามารถแห่งธาตุ.

ส่วนภิกษุใด กรรมฐานไม่ปรากฏโดยสี โดยปฏิกูล โดยสุญญตะ
ภิกษุนั้น ก็ไม่พึงนั่งสละกรรมฐานเสีย โดยคิดว่า กรรมฐานไม่ปรากฏ
แก่เรา
แต่พึงกระทำความเพียรมนสิการในโกฏฐาสต่อไปโดยแท้. ได้ยินว่า
พระเถระในปางก่อนกล่าวว่า ภิกษุ ผู้มนสิการโกฏฐาส แล มีอยู่เป็นนิจเสมอ
ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้นทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสเนือง ๆ อยู่อย่างนี้
โกฏฐาสทั้งหลายย่อมคล่องแคล่ว. ก็ในกาลใดเล่า โกฏฐาสทั้งหลาย จึงจะ
ชื่อว่าคล่องแคล่ว. เมื่อไร สักว่าเธอรำพึงไปว่า เกสา มนสิการไปจนตั้งอยู่
ที่โกฏฐาสสุดท้าย คือ มตฺถลุงฺคํ และพอรำพึงว่า มตฺถลุงฺคํ มนสิการ
มาจนตั้งอยู่ที่โกฏฐาสต้น คือ เกสา ทีนั้น โกฏฐาส 32 ย่อมปรากฏแก่ภิกษุ
นั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุมองดูพวงดอกไม้ 32 สี ที่ร้อยไว้ด้วยด้าย
เส้นเดียว ก็หรือว่า มองดูเสารั้ว 32 ต้น ที่ฝังไว้โดยลำดับ ดอกไม้ 32 สี
หรือว่า เสารั้ว 32 ต้น ย่อมปรากฏตามลำดับ ฉันนั้น. สัตว์เดรัจฉาน
ทั้งหลายก็ดี มนุษย์ทั้งหลายก็ดี ซึ่งเที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรากฏ (แก่พระ-
โยคาวจรนั้น) ว่าเป็นสัตว์ ย่อมปรากฏเป็นโกฏฐาสทั้งหลาย ขาทนียะโภชนียะ
ก็ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าสิ่งของที่เขาใส่เข้าไปในระหว่างโกฏฐาส. จำเดิมแต่
โกฏฐาสทั้งหลายคล่องแคล่วแล้ว ภิกษุนั้น จักหลุดพ้นได้ โดยหัวข้อหนึ่งใน
หัวข้อทั้ง 3 (คือ โดยสี โดยปฏิกูล โดยสุญญตะ). กรรมฐานย่อมปรากฏ
โดยสี หรือโดยปฏิกูล หรือโดยสุญญตะ จำเดิมแต่โกฏฐาสทั้งหลายคล่องแคล่ว
แล้วก็จักหลุดพ้นโดยหัวข้อหนึ่งในหัวข้อทั้ง 3 เปรียบเหมือนสตรีที่ต้องการจะ
ทอดขนม ปรารถนาซึ่งขนมชิ้นใด ๆ ก็ย่อมจะทอดขนมชิ้นนั้น ๆได้จากแป้ง
ที่ตนขยำตั้งไว้แล้ว ก็หรือว่า เปรียบเหมือนบุคคลหมุนหม้อเต็มด้วยน้ำที่เขา
ตั้งไว้ในภูมิประเทศเสมอกันไป แต่ที่ใด ๆ น้ำก็จะไหลออกไปแต่ที่นั้นนั่นแหละ

ฉันนั้น . เมื่อภิกษุหวังอยู่โดยสี หวังอยู่โดยปฏิกูล หวังอยู่โดยสุญญตะ
กรรมฐานก็จักปรากฏได้โดยแท้. นี้ชื่อว่า อุคคหสนธิมีประมาณเท่านี้. ภิกษุ
ผู้ตั้งอยู่ในอุคคหสนธิแล้วบรรลุพระอรหัตมีประมาณมากมาย.
อนึ่ง กรรมฐานของภิกษุใด ไม่ปรากฏในอุคคหสนธิ ภิกษุนั้นเรียน
เอากรรมฐานแล้ว ถ้าอาจารย์อยู่ในอาวาสใด อาวาสนั้นเป็นสัปปายะแก่เธอ
ไซร้ นั่นเป็นการดี แต่ถ้าไม่ได้เช่นนั้น พึงอยู่ในที่อันเป็นสัปปายะ. เมื่อ
อาศัยอยู่ พึงเว้นวิหารโทษ 18* แห่ง แล้วอยู่ในเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์
แม้ภิกษุเอง ก็พึงประกอบด้วยองค์ 5. จากนั้น ภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันภัตแล้ว ก็พึงไปสู่ที่พักในเวลาราตรี หรือที่พักในเวลากลางวัน
แล้วมนสิการกรรมฐาน. พึงมนสิการอย่างไร ? คือ พึงมนสิการกรรมฐาน
โดยลำดับแต่ต้น ตามนัยที่กล่าวแล้วก่อน. ไม่พึงมนสิการเว้นกรรมฐานไว้
หนึ่งในระหว่าง. ก็เมื่อเธอมนสิการกรรมฐานโดยลำดับอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจาก
กรรมฐาน และย่อมเสวยโลกุตตรธรรม 9 ประการ อันเช่นกับอานิสงส์แห่ง
ปราสาท เปรียบเหมือน บุรุษผู้ก้าวขึ้นบันได 32 ขั้น โดยลำดับขั้น ขึ้นสู่
ปราสาทและเสวยอานิสงส์ของปราสาท ฉะนั้น.

(1) วิหารที่ควรเว้น 18 แห่ง คือ
1. วิหารใหญ่ 7. วิหารใกล้บ่อน้ำ 13. วิหารอยู่ชายแดน
2. วิหารเก่าคร่ำ 8. วิหารที่มีคนชอบอยู่ 14. วิหารอยู่ระหว่างพรมแดน
3. วิหารสร้างใหม่ 9. วิหารมีผักมาก 15. วิหารใกล้เมือง
4. วิหารใกล้ป่าไม้ฟืน 10. วิหารมีดอกไม้ 16. วิหารที่มีวิสภาคบุคคล
5. วิหารใกล้ทาง 11. วิหารมีผลไม้ 17. วิหารที่อยู่แล้วไม่สบาย
6. วิหารใกล้ที่นา 12. วิหารใกล้ท่า 18. วิหารที่ไม่มีกัลยาณมิตร
(2) วิหารประกอบด้วยองค์ 5 คือ 1. วิหารที่ไม่ใกล้นักไม่ไกลนักไปมาสะดวก 2. กลางวัน
ไม่พลุกพล่านกลางคืนเงียบสงัด 3. ปราศจากสัมผัสเหลือบและยุง 4. มีปัจจัยสี่ไม่ฝืดเคือง
5. มีผู้เป็นพหูสูตอยู่ด้วย.

เมื่อมนสิการโดยลำดับ ไม่พึงมนสิการโดยเร็วนัก ไม่มนสิการโดย
ช้านักด้วย. เพราะว่า เมื่อมนสิการเร็วเกินไป กรรมฐานย่อมคล่องแคล่วแม้
ก็จริง ถึงอย่างนั้นกรรมฐานก็ไม่แจ่มแจ้ง. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาโดย
นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. เมื่อมนสิการช้าเกินไป กรรมฐานย่อมไม่
ถึงที่สุด ย่อมเสื่อมไปในระหว่างเทียว. เปรียบเหมือน คนเดินทาง 3 โยชน์
เพราะสนใจในร่มเงาอันร่มเย็นจำเดิมแต่ที่เป็นที่ออกไปแล้ว พบร่มเงาอันเย็น
สบายก็พักเสีย พบพื้นทรายอันเป็นที่รื่นรมย์ก็เหยียดหลังเสีย พบสระโบกขรณี
ในป่าย่อมดื่มย่อมอาบ พบภูเขาก็ขึ้นไปชมทิวทัศน์อันเป็นที่รื่นรมย์แห่งภูเขา
สีหะ หรือเสือโคร่ง หรือเสือเหลือง ย่อมฆ่าเขาเสียในระหว่างนั่นแหละ. ก็
หรือว่า พวกโจรย่อมปล้น ย่อมฆ่า ฉันใด เมื่อมนสิการช้าเกินไป ก็ฉันนั้น
นั่นแหละ กรรมฐานย่อมไม่ถึงที่สุด ย่อมเสื่อมไปในระหว่างเทียว เพราะ
ฉะนั้น ในวันหนึ่ง ภิกษุพึงมนสิการสิ้น 30 ครั้ง โดยไม่เร็วเกินไป
ไม่ช้าเกินไป
แล.
ในเวลาเช้าพึงทำการสาธยาย 10 ครั้ง กลางวัน 10 ครั้ง เย็น
10 ครั้ง
การไม่ทำย่อมไม่ควร เหมือนการตื่นนอนเช้า การไม่ล้างหน้าก็ไม่
ควร การไม่เคี้ยวกินขาทนียะและโภชนียะก็ไม่ควร ควรยังกิจนี้ให้เป็นไป
กิจนี้นั่นแหละ ไม่ทำเลยสักส่วนหนึ่งหาควรไม่ เมื่อกระทำจึงจะถือเอาประ-
โยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือน บุคคลมีนา 3 แปลง นาแปลงหนึ่ง
ให้ข้าว 8 กุมภะ (400 ถัง) นาแปลงหนึ่งให้ข้าว 16 กุมภะ (800 ถัง)
และนาแปลงหนึ่งให้ข้าว 32 กุมภะ (1,600 ถัง) บุคคลนั้นไม่อาจทำนาแม้
ทั้ง 3 แปลงได้ พึงทิ้งเสีย 2 แปลง แล้วทำนาแปลงหนึ่งอันให้ข้าว 32 กุมภะ
เท่านั้น คือพึงทำการไถ การหว่าน การเก็บเกี่ยวเป็นต้นในนาแปลงที่ 3

นั่นแล นาแปลงที่ 3 นั้นนั่นแหละ ย่อมแสดงการให้เกิดความอุตสาหะของ
เขาในนา 2 แปลง นอกนี้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุแม้ละการ
งานที่เหลือมีการล้างหน้าเป็นต้นแล้ว พึงทำกรรมในที่นี้โดยแท้ การไม่ทำหา
ควรไม่ เมื่อทำจึงถือเอาประโยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ ฉะนี้แล. ชื่อว่ามัชฌิมา-
ปฏิปทา
ท่านกล่าวไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ พึงป้องกันความฟุ้งซ่านได้. เพราะว่า เมื่อ
สละกรรมฐาน จิตก็จะถึงความฟุ้งซ่านไปในภายนอก ย่อมเสื่อมจากกรรมฐาน
ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัย เปรียบเหมือน บุรุษคนหนึ่ง (พ่อค้า) ยังบุคคล
ให้ชำระหนี้พันหนึ่ง ได้กำไรแล้วเดินทางมา ในระหว่างทางก้าวขึ้นสะพาน
ท่อนไม้อันเดินได้คนเดียวที่พาดข้ามลำธารซอกเขาอันลึกมีจระเข้ มังกร และ
รากษส (ผีเสื้อน้ำ) เขาเดินปล่อยเท้าก้าวไป เพราะแลดุข้างโน้นข้างนี้ เลย
พลัดตกลงไปเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น ฉันใด ภิกษุแม้นี้ ก็เหมือนกัน
นั่นแหละ ครั้นเมื่อจิตของตนสละกรรมฐานถึงความฟุ้งไปในภายนอก ย่อม
เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัยได้.

ข้อนี้ พึงทราบความอุปมา ดังนี้


ก็กาลที่ภิกษุนี้เรียนกรรมฐานในสำนักของอาจารย์ เปรียบเหมือน
กาลทีบุรุษยังบุคคลให้ชำระหนี้หนึ่งพันได้กำไรแล้ว. สังสารวัฏ เปรียบเหมือน
ซอกเขาอันลึกในระหว่างทาง. ทุกข์ใหญ่มีวัฏฏะเป็นมูล เปรียบเหมือน กาล
ที่บุรุษนั้นถูกจระเข้เป็นต้นเห็นแล้ว. วิถีแห่งการสาธยายของภิกษุนี้ เปรียบ
เหมือน สะพานท่อนไม้เดินได้คนเดียว. พึงทราบว่า ความที่ภิกษุนี้ สละ
กรรมฐาน มีจิตฟุ้งไปในภายนอก เสื่อมจากกรรมฐาน ไม่สามารถก้าวล่วง